จมูดหดรั้ง แก้ไขได้

เคสแก้ไขจมูกหดรั้ง จากการติดเชื้อ ซิลิโคนทะลุ รูจมูกตีบ หายใจลำบาก

คนไข้รายนี้ เคยฉีดสารเหลวที่จมูกมาก่อนเมื่อสิบกว่าปีก่อน ได้รับการรักษามาก่อนหน้านี้โดยการเลาะสารเหลวแล้วทำการเสริมจมูก ต่อมามีปัญหาติดเชื้อ จึงต้องถอดพัก จากนั้นได้รับการผ่าตัดจมูกอีกครั้งด้วยวิธีเปิดโอเพ่น เสริมสันจมูกด้วยซิลิโคน แต่ก็มีปัญหาติดเชื้ออีก คราวนี้มีรอยทะลุที่สันจมูก

ตอนมาปรึกษากับอาจารย์หมอพี รูทะลุที่สันจมูกที่เป็นมาหลายเดือนยังมีน้ำเหลืองไหลออกมาตลอด ขณะนั้นจมูกเริ่มมีการหดตัว โครงสร้างจมูกเสียหายไปมากแล้ว แต่เนื่องจากการติดเชื้อ จึงทำได้เพียงถอดซิลิโคนจมูกพัก เพื่อทำให้บริเวณจมูกสะอาด ปลอดเชื้อให้หมดก่อน คนไข้เช้าใจและยอมรับแนวทางนี้ได้ แม้จะรู้ว่าหลังจากถอดแล้ว จมูกจะผิดรูปและเกิดการหดตัวรุนแรงมากขึ้น

จนผ่านมาได้ 1 ปีเต็ม จมูกหายติดเชื้อแล้ว แต่ตามคาด คือมีการหดรั้งของพังผืดอย่างเต็มที่ ทำให้เกิดปัญหาหลายจุด เช่น สันจมูกยุบตัว ไม่เรียบจากทั้งพังผืดและรอยแผลเป็นจากการที่เคยมีซิลิโคนทะลุ ปลายจมูกและแกนจมูกหดสั้นเข้าไปในจมูก แกนจมูกหนาและเอียง ทำให้เบียดรูจมูกด้านข้างที่ตีบแคบอยู่แล้วให้เกิดรูจมูกเล็กจนแทบตัน หายใจทางจมูกไม่ได้ เรียกได้ว่าทุกข์ทรมานเป็นอย่างมาก

 

แนวทางแก้ไข

แนวทางแก้ไขในตอนนี้ต้องทำการแก้ไขในสองส่วนหลัก ๆ คือโครงสร้างของจมูกและเนื้อเยื่อที่ปกคลุมจมูก

- ในส่วนของโครงสร้างจมูก ต้องใช้เนื้อเยื่อตัวเองในการสร้างโครงสร้างใหม่ ให้มีความตรงและแข็งแรง รองรับแรงหดรั้งในอนาคต ไม่เช่นนั้นโครงสร้างจะหดและยุบตัวอีก งานนี้จึงเลือกใช้กระดูกอ่อนซี่โครงตัวเองแบบ 100% เลย จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องการอักเสบติดเชื้อจากวัสดุสังเคราะห์ใด ๆ สื่งที่ยากคือ ต้องทำโครงสร้างให้แข็งแรงแต่ไม่หนาเกินไป ไม่เช่นนั้นก็จะเบียดรูจมูก ทำให้รูจมูกตีบแคบอีกได้ และในส่วนโครงสร้างนี้เอง ต้องทำการดามกระดูกอ่อนในจมูกหลาย ๆ ส่วน ทั้งบริเวณแกนตั้ง แกนนอน ด้านข้างเพื่อป้องกันการล้มเอียง ไปจนถึงบริเวณปีกจมูก ปลายและแกนจมูกด้านล่าง เพื่อให้จมูกมีมิติที่สวยขึ้น ตรงและแข็งแรงในทุกทิศทาง

- อีกส่วนที่น่าจะเป็นส่วนที่ยากและสำคัญที่สุดในเคสนี้คือ ผิวหนังที่ปกคลุมจมูก ต้องทำการเลาะพังผืดเก่า คลี่เนื้อที่หดรั้งและแข็งออกให้มากที่สุด โดยต้องระวังการผ่าตัดที่ลึกหรือเยอะเกินไป เพราะอาจเกิดการทะลุของผิวจมูก หรือเกิดเนื้อตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยงได้ง่ายมาก แต่หากเลาะพังผืดได้ไม่มากพอ จมูกที่หดรั้งก็ไม่สามารถยืดออกมาได้ ดังนั้นแต่ละมิลลิเมตรของการผ่าตัดยืดผิวจมูก มีอะไรต้องลุ้นและระมัดระวังอยู่ตลอด ถือเป็นส่วนที่ท้าทายมากครับ

ปัญหาอีกเรื่องคือ เรื่องรูจมูกที่หดตีบแคบ หลังจากทำการยืดเนื้อจมูกออกมารองรับโครงสร้างจมูกใหม่แล้ว จะเหลือรอยโหว่ในจมูกที่ไม่สามารถเย็บถึงกันได้ดี เพราะถ้าจะเย็บแผลให้ถึงกัน ก็คงต้องยอมรับการหดตัวของจมูกอีก แต่ถ้าไม่ยอมให้หด ก็จำเป็นต้องเหลือรอยโหว่เอาไว้บางจุด โดยเฉพาะด้านในรูจมูก จากนั้นก็ทำการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อจากบริเวณหู ซึ่งความพิเศษของการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อบริเวณนี้คือ การในผิวหนังร่วมกับกระดูกอ่อนหู มาทำการปิดแผล เพราะส่วนของกระดูกอ่อนจะช่วยป้องกันการหดตัวหรือหดรั้งของบริเวณแผลได้ดีกว่าการปลูกถ่ายแต่ผิวหนังเพียงอย่างเดียว ปัญหาที่สำคัญคือการติดของเนื้อเยื่อที่ปลูกถ่าย หากเนื้อเยื่อติดดี การหายของแผลก็จะดี มีการหดรั้งน้อย แต่ถ้าเนื้อที่ปลูกถ่ายไว้ไม่ติดหรือตาย ก็จะเกิดรอยแผลและหดตัว เกิดการผิดรูปของเนื้อเยื่อข้างเคียงอีกครั้ง ดังนั้นการจะได้ผลการรักษาที่ดี ต้องทำให้การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อบริเวณนี้สำเร็จอย่างดีด้วย

ในรายนี้แสดงผลลัพธ์หลังการผ่าตัดแบบทันทีและที่ 1 เดือน ทรงของจมูกดีขึ้นมาก แกนจมูกและปลายจมูกที่เคยหดรั้งรุนแรงสามารถยืดออกได้มาก แกนจมูกที่เคยหนาและเอียงก็บางลงและแข็งแรง อยู่ในแกนที่ตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเลยคือการหายใจกลับมาโล่งเป็นปกติ ทำให้คนไข้สามารถใช้ชีวิตได้ดีขึ้นมาก มีความมั่นใจขึ้นมาก 

พร้อมเพิ่มความมั่นใจหรือยัง ?